ภาษาล้านนา หมายรวมถึง ภาษาเขียน (ตั๋วเมือง) และภาษาพูด (กำเมือง) นอกจากจะใช้ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือแล้ว ยังมีผู้ใช้ภาษาล้านนาในบางท้องที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย สระบุรี ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น นครเชียงตุง (เมียนม่าร์) สิบสองปันนา (จีน) และอีกหลายแห่งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แม้จะมีสำเนียงพูดผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ตัวอักษรแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภาษาเขียนที่ใช้ในนครเชียงตุง ที่เรียกว่า ตั๋วขึน ทั้งลักษณะของตัวอักษร และอักขรวิธีเหมือนกับ ตั๋วเมือง ที่ใช้ในภาคเหนือของไทย อักษรล้านนา (ตั๋ว เมือง) ถือได้ว่าเป็นอักษรแห่งภาษาแม่ของชาวล้านนา เป็นมรดกอันล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์อันสูงสุดของชาวล้านนา เป็นภูมิปัญญาของนักปราชญ์ชาวล้านนา เป็นอักษรแห่งมนต์ขลัง ถือกันมาว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธพจน์ จึงเป็นอักษรที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ใช้ในการจารพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ธรรมชาดก บทสวดมนต์ พงศาวดาร ตำนาน ศิลาจารึก โหราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำรายาสมุนไพร วรรณกรรมล้านนา ตลอดถึงคติ คำสอนต่างๆ และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง คือตำราไสยศาสตร์ เลขยันต์ คาถาเวทย์มนต์ต่างๆ ที่คนล้านนาถือว่าขลังมาแต่โบราณกาล
ชาวล้านนาถือว่า “ตั๋วเมือง” เป็นของสูง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันมีค่าสูงยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น พับสา คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อย แม้แต่กระดาษที่เขียนด้วยตั๋วเมือง จะต้องเก็บไว้ในที่อันควร เช่น บนโต๊ะ บนหิ้ง บนหัวนอน จะไม่มีการทิ้งเรี่ยราด ไม่มีการเหยียบหรือเดินข้ามเป็นอันขาด แม้ว่าตั๋วเมืองจะเสื่อมลงในระยะที่อาณาจักรล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เกือบ ๒๐๐ ปี (ราว พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๒๐) กอปรกับในเวลาต่อมาเมื่ออาณาจักรล้านนาพ้นจากการปกครองของพม่าแล้ว ล้านนาก็ต้องตกเป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ ต้องการให้สยามประเทศเป็นหนึ่งเดียวในด้านภาษา จึงไม่สนับสนุนให้เรียนตั๋วเมือง ให้ใช้ภาษาไทยกลางเป็นสื่อ ไม่อนุญาตให้มีการสอนตั๋วเมืองในโรงเรียน คงมีสอนเฉพาะในวัดสำหรับผู้จะบวชเป็นภิกษุสามเณรเท่านั้น ผู้หญิงหรือผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าเป็นศิษย์วัด (ขะโยม) เพื่อเตรียมบรรพชาอุปสมบทจึงไม่มีโอกาสได้เรียนตั๋วเมือง ในระยะหลังๆ ต่อมาแม้ในวัดก็ไม่มีการสอนตั๋วเมืองอีกเช่นกัน ทำให้ชาวล้านนาไม่รู้จักตั๋วเมือง อ่านตั๋วเมืองไม่ออก ทั้งๆ ที่เป็นภาษาที่บรรพชนนักปราชญ์ล้านนาคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นด้วยภูมิปัญญาอันสูงส่ง
อักษรธรรมล้านนาจัดตามกลุ่มพยัญชนะวรรคตามพยัญชนะภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เรียกว่า“พยัญชนะวรรค”หรือ“พยัญชนะในวรรค”อีก 8 ตัวไม่จัดอยู่ในวรรคเรียกว่า“พยัญชนะอวรรค”หรือ“พยัญชนะนอกวรรค”หรือ“พยัญชนะเศษวรรค”ส่วนการอ่านออกเสียงเรียกพยัญชนะทั้งหมดนั้น จะเรียกว่า“ตั๋ว”เช่น ตั๋ว กะ/ก/ ตั๋ว ขะ/ข/ ตั๋ว จะ/จ/ เป็นต้น พยัญชนะปกติ
อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการถ่ายอักษรเท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษรสากล ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย
พยัญชนะซ้อน (ตัวซ้อน) เป็นพยัญชนะที่ใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวอื่นเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ 1. เพื่อห้ามไม่ให้พยัญชนะที่ไปซ้อน (ตัวข่ม) ออกเสียงสระอะ หรือ 2. เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ซึ่งพยัญชนะที่ล้านนารับมาจากภาษาอื่นตั้งแต่แรกจะมีรูปพยัญชนะซ้อนทุกตัว ยกเว้น กับ เท่านั้นที่ไม่มี พยัญชนะที่มีรูปพยัญชนะซ้อนมีดังต่อไปนี้
พยัญชนะนอกเหนือจากนี้ ซึ่งได้แก่ เป็นพยัญชนะที่ล้านนาประดิษฐ์ขึ้นมาเอง ดังนั้นจึงไม่มีรูปพยัญชนะซ้อน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศได้ใกล้เคียงกับภาษาเดิมมากที่สุด จึงสมควรมีการประดิษฐ์รูปพยัญชนะซ้อนของ และ ขึ้นมาเพิ่มเติม
เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้
สระลอย
เป็นสระที่มาจากภาษาบาลี สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อน แต่บางครั้งก็มีการนำไปผสมกับพยัญชนะหรือสระแท้ เช่น คำว่า 'เอา' สามารถเขียนได้โดยเขียนสระจากภาษาบาลี 'อู' ตามด้วย สระแท้ 'า' คือ
เนื่องจากล้านนาได้นำเอาระบบอักขรวิธีของมอญมาใช้โดยแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย และภาษามอญเองก็เป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นในอดีตจึงไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนาเลย (เคยมีการถกเถียงกันเรื่องชื่อของล้านนาว่าจริงๆแล้วชื่อ 'ล้านนา' หรือ 'ลานนา' กันแน่ แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า 'ล้านนา') จนกระทั่งในระยะหลังเมื่ออิทธิพลของสยามแผ่เข้าไปในล้านนาจึงปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนา
ภาษาล้านนาสามารถผันได้ 6 เสียง (จริงๆแล้วมีทั้งหมด 7 หรือ 8 เสียง แต่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้เพียง 6 เสียงเท่านั้น) การผันจะใช้การจับคู่กันระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำจึงทำให้ต้องใช้วรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก กับ โท (เทียบภาษาไทยกลาง) เช่น
การที่มีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปนี้ทำให้เกิดปัญหากับอักษรกลาง คือ ไม่สามารถแทนเสียงได้ครบทั้ง 6 เสียง ดังนั้นจึงอาจอนุโลมให้แต่ละรูปศัพท์แทนการออกเสียงได้ 2 เสียง
เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงโทพิเศษ, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี
การแสดงเสียงวรรณยุกต์ของคำเมืองสำเนียงเชียงใหม่