เมื่องสมัยล้านนาที่ยังมีอยู่ในประเทศไทย 8 จังหวัด
จังหวัดเชียงใหม่ |
|
|
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า
บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์ |
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมีประชากร 1,708,564 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ทิศเหนือติดต่อกับ รัฐฉานของพม่า
ด้านการปกครอง แบ่งออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย
จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ล่าสุด จังหวัดเชียงใหม่ได้เริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์ของ ยูเนสโก
ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า 'นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่' สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังรายเป็นผู้ทรงสร้าง มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539
ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่า อาณาจักรล้านนา ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-2101) กระทั่งในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า และได้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า 'นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่' สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังรายเป็นผู้ทรงสร้าง มีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของกรุงรัตนโกสินร์ และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น 'รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่'
ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า 'มณฑลพายัพ' ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น 'จังหวัด' ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ ณ ละติจูด 16 องศาเหนือ ลองติจูด 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
จังหวัดเชียงใหม่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 227 กิโลเมตร พื้นที่เขตแดนส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงไม่สามารถปักหลักเขตแดนได้ชัดเจน และเกิดปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ
[แก้]ภูมิประเทศ
พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ และทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่จังหวัด[5] เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 12,566,911 ไร่ มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟากฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ ดอยอินทนนท์ สูงประมาณ 2,565.3355 เมตร อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง นอกจากนี้ยังมีดอยอื่นที่มีความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น ดอยผ้าห่มปก สูง 2,285 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,170 เมตร ดอยสุเทพ สูง 1,601 เมตร สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
-
พื้นที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบเชิงเขา กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง ลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร
[แก้]ภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงใหม่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100-1,200 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกทองกวาว ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
-
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปช้างเผือกในเรือนแก้ว หมายถึงความสำคัญ 2 ประการของจังหวัด ซึ่งช้างเผือก คือ ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่นำมาทูลเกล้าถวายแด่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอกในรัชกาล ส่วนเรือนแก้วคือดินแดนที่พุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด
-
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว
-
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma)
-
อักษรย่อ: ชม.
จังหวัดเชียงราย |
|
|
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง |
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแขวงเมืองสาด และแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกันทางถนนที่เชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย และในอนาคตที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ถนนสาย R3A ที่อำเภอเชียงของ ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับประเทศลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเรียกว่าดอยลังกาหลวงหรือดอยแม่โถ เป็นยอดเขาที่มีเส้นแดนติดกันทั้ง 3 จังหวัดบนยอดเขา
จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นจังหวัดที่ใหญ่อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีพิ้นที่จังหวัดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทยและเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน
ประวัติ
พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพฤศจิกายนพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชบัญญัติ ยกเชียงรายขึ้นเป็น เมืองเชียงราย ซึ่ง 'เมือง' เป็นหน่วยการปกครองหนึ่งที่อยู่ถัดจาก 'มณฑล' ลงมา โดยเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลางควบคุมเชียงแสน ฝาง และพะเยา ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา จนถึงปัจจุบัน
ภูมิศาสตร์
[แก้] ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 824 กิโลเมตร
[แก้] ภูมิประเทศ
จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อาณาเขตของจังหวัดทางทิศเหนือติดกับแคว้นเมืองสาด และ แคว้นท่าขี้เหล็ก ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ ประเทศลาว ทิศใต้ติดกับ อำเภอแม่ใจ อำเภอภูกามยาว อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน และ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทิศตะวันตกติดกับ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และแคว้นเมืองสาด ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาว ประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับลาวประมาณ 180 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,680 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด
[แก้] ภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกันยายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2544 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
-
ตราประจำจังหวัด : รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพ่อขุนมังรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พ่อขุนมังรายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า ช้างทรงของพ่อขุนมังรายหลุดหายไปจากหลักที่ผูกไว้ พ่อขุนมังรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น
-
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพวงแสด (Pyrostegia venusta)
-
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาซะลองคำ (Radermachera ignea) โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี[3]
-
คำขวัญประจำจังหวัด: เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
จังหวัดลำพูน |
|
|
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี
ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย |
จังหวัดลำพูน
จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา
ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี
อาณาเขต
ลำพูนมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ 3 จังหวัด ดังนี้
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
-
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
-
ต้นไม้ประจำจังหวัด: จามจุรี (Samanea saman)
-
คำขวัญประจำจังหวัด: พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
จังหวัดลำปาง |
|
|
ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น
เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล
ฝึกช้างใช้ลือโลก |
จังหวัดเลำปาง
จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่าเขลางค์นคร เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า
ประวัติ
ลำปางเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในล้านนา เป็นจุดศูนย์รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนาอันโดดเด่น สมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรล้านนารวมไปถึงนครลำปางได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานนับสองร้อยปี ดังนั้นสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองลำปางจึงได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าเห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ช่วงสมัยพม่าปกครองอาณาจักรล้านนารวมไปถึงเมืองลำปางไม่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง มิหนำซ้ำยังกระทำการย่ำยีข่มเหงชาวบ้านจนทำให้ชาวเมืองเกลียดชังไปทั่ว จนกระทั่งได้เกิดวีรบุรุษผู้กล้าแห่งบ้านปกยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) นามว่า เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ท่านได้รวบรวมชาวเมืองขับไล่พม่าพ้นเมืองลำปางได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ชาวเมืองจึงพากันสถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง มีพระนามว่า พญาสุวฤๅไชยสงคราม เวลานั้นเมืองลำปางเป็นเมืองเดียวในล้านนาที่ปราศจากอำนาจปกครองจากพม่า
กาลเวลาต่อมาลูกหลานของท่านได้กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าจากแผ่นดินล้านนา และได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำพูน น่าน และต้นตระกูลของท่านมีนามปรากฏในพงศาวดารว่าราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบอบมณฑล เมืองลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ (เมืองเชียงใหม่) และมณฑลมหาราษฎร์ (เมืองเชียงราย) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัด เมืองลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภูมิศาสตร์
จังหวัดลำปางมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
-
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกธรรมรักษา (Heliconia sp.)
-
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระเจา หรือกระเชา หรือในภาษาถิ่นว่า ขะจาว (Holoptelea integrifolia)
-
คำขวัญประจำจังหวัด: ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก
จังหวัดพะเยา |
|
|
กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม |
จังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ตั้งของจังหวัดพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พ่อขุนงำเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา
ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๐ จังหวัดพะเยาตั้งขึ้นในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๐ ประกอบด้วยอำเภอ ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอีก ๒ อำเภอ คือ อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว รวมเป็น ๙ อำเภอ พะเยาเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมชื่อว่า เมืองภูกามยาว หรือ พยาว มีกษัตริย์ปกครองสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
เมืองพยาวหรือพะเยาในขณะนั้นตั้งอยู่เชิงเขาชมภูหรือดอยด้วน และมีแม่น้ำสายตา (แม่น้ำอิง) ไหลผ่าน เป็นบริเวณที่เรียกว่า ที่ราบลุ่มกว๊านพะเยา ในตำนานประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาระบุว่า บรรพบุรุษของเมืองพะเยาคือ ปู่เจ้าลาวจก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ลวจักราช เคยอาศัยอยู่บนดอยตุง เชียงราย แล้วย้ายลงมาสร้างเมืองหิรัญนครเงินยาง คือเมืองเชียงแสน ในสมัยพระเจ้าลาวเงิน ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของลวจักราช พระองค์โปรดให้ขุนจอมธรรม โอรสองค์เล็กมาปกครองเมืองพะเยา ขุนจอมธรรมจัดการปกครองเมืองพะเยาออกเป็น ๓๖ พันนา ผู้ปกครองแต่ละพันนามียศเป็นหมื่น มีการก่อสร้างประตูเมืองถึง ๘ แห่ง ได้แก่ ประตูชัย ประตูหอกลอง ประตูเหล็ก ประตูท่านาง ประตูท่าเหล้า ประตูปราสาท ประตูท่าแป้น และประตูออมปอม ๓๖ พันนา นาละ ๕๐๐ คน
ขุนจอมธรรมครองราชได้ ๒๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ ขุนเจืองซึ่งเป็นพระโอรสได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ขุนเจืองเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถในการต่อสู้และการใช้อาวุธต่างๆได้เป็นอย่างดี เมื่อพระองค์ครองเมืองพะเยาได้เพียง ๖ ปี ก็สามารถยกทัพไปช่วยปราบแกว (ญวน) ที่ยกมาประชิดเมืองหิรัญนครเงินยางจนสำเร็จ ขุนชินซึ่งครองเมืองหิรัญนครเงินยางในขณะนั้น ทราบเรื่องก็พอพระทัย เลื่อมใสในความสามารถของขุนเจืองเป็นอย่างมาก ทรงยกธิดาชื่อพระนางอั๊วคำคอนให้เป็นพระชายา และสละราชสมบัติเมืองหิรัญนครเงินยางให้ขุนเจืองครองแทน เมื่อขุนเจืองได้ครองราชแล้วทรงพระนามว่า พระยาเจืองธรรมมิกราช ส่วนเมืองพะเยานั้นขุนเจืองโปรดให้โอรสชื่อ ลาวเงินเรือง ครองเมืองพะเยาแทนสืบต่อมา
ต่อมามีกษัตริย์สืบราชวงศ์อีกหลายพระองค์และมีความสัมพันธ์กับเมืองหิรัญนครเงินยางเป็นอย่างดี เมืองพะเยามีอำนาจมากและเป็นช่วงที่เจริญถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนงำเมือง พระองค์เป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองพะเยา ที่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ของทางเหนือ เป็นเครื่องยืนยันว่ามีตัวตนจริง พ่อขุนงำเมืองครองเมืองพะเยาในช่วงปี พ.ศ. ๑๘๐๑ มีชายาชื่อ นางอั้ว เชียงแสน ธิดาของเจ้าเมืองเชียงแสน พ่อขุนงำเมืองประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง เมื่อพระชนมายุ ๑๔ ปี พระราชบิดาได้ส่งไปศึกษาในสำนักเทพอิสิตน อยู่บนดอยด้วน ๒ ปี จากนั้นพระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อในสำนักสุกันตฤาษี ณ กรุงละโว้ ลพบุรี จึงรู้จักคุ้นเคยกับพระร่วง เจ้าแห่งกรุงสุโขทัย สนิทสนมกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปะร่วมครูอาจารย์เดียวกัน เมื่อพ่อขุนงำเมืองขึ้นครองราช ขุนเม็งรายเคยยกทัพเข้าบดขยี้เมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองไม่ชอบสงครามจึงสั่งให้อำมาตย์ออกต้อนรับโดยดี เลี้ยงกองทัพให้อิ่ม ขุนเม็งรายจึงเลิกทำสงครามต่อกัน ตั้งแต่นั้นมาพ่อขุนงำเมืองจึงยกเมืองปลายแดน ซึ่งมีเมืองพาน เมืองเชี่ยงเคี่ยน เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้แก่พระเจ้าเม็งรายและทำสัญญาปฎิญาณกันจะเป็นมิตรกันตลอดไป พระยาร่วงซึ่งเป็นสหายคนสนิทได้ถือโอกาสเยี่ยมพ่อขุนงำเมืองปีละหนึ่งครั้ง ส่วนใหญ่เสด็จในฤดูกาลเทศกาลสงกรานต์ ได้มีโอกาสรู้จักกับขุนเม็งราย ทั้งสามองค์ได้ชอบพอกัน เป็นสหายกัน เคยหันหลังพิงกัน กระทำสัจจะปฏิญานแก่กัน ณ ริมฝั่งน้ำขุนภู ว่าไม่ผูกเวรแก่กัน จะเป็นมิตรสหายกัน กรีดโลหิตออกรวมกันผสมน้ำทรงดื่มพร้อมกัน ภายหลังแม่น้ำนี้มีชื่อว่า แม่น้ำอิง
หลังจากพ่อขุนงำเมืองสิ้นพระชนม์ลง เมืองพะเยากลับมามีบทบาทในประวัติศาสตร์อีกครั้ง ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พ.ศ. ๑๙๘๔ ถึง ๒๐๓๐ พระองค์ทรงใช้เมืองพะเยาเป็นฐานกำลัง เพื่อขยายอำนาจเข้าครองเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งยังเข้ายึดเมืองสุโขทัย จากอยุธยาจนสำเร็จและให้พระยายุทธิษฐิระบุตรของพระยาราม เชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกราช เป็นผู้ปกครองเมือง หลังจากนั้นพระยายุทธิษฐิระก็ไปครองเมืองภูคาและเมืองพะเยาด้วย โดยมีเมืองแพร่และเมืองน่านอยู่ในปกครอง นับเป็นยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยาอีกยุคหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ บุเรงนองแห่งพม่าเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ ทำให้พะเยาต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึงกว่า ๒๐๐ ปี ล่วงถึงสมัยกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดินแดนล้านนาก็ยังระส่ำระสายเนื่องจากกองทัพพม่าและกองทัพสยาม ที่ต่างช่วงชิงเพื่อจะได้ยึดครองล้านนา ในระหว่างนั้นชาวเมืองพะเยาส่วนหนึ่งได้อพยพไปอยู่ที่เมืองลำปาง (บริเวณบ้านปงสนุกในปัจจุบัน)
สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองพะเยาขึ้นกับเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนในตระกูลมาปกครองโดยต่อเนื่อง จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพะเยาจึงได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวเฉียง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลพายัพ การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้นมีการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากผู้ปกครองเดิมและคนในท้องถิ่น ที่รู้จักกันในชื่อ “ขบถ ร.ศ. ๑๒๑” นอกจากนี้ยังมีขบถเงี้ยวในเมืองพะเยา รวมไปถึงเมืองแพร่และลำปางด้วย
เมื่อทางส่วนกลางจัดการเหตุการณ์ต่างๆจนสงบแล้ว เมืองพะเยาก็ถูกยกฐานะให้เป็นจังหวัด เรียกว่าจังหวัดบริเวณพะเยา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ถูกลดฐานะเป็นเพียง อ.เมืองพะเยา ให้เจ้าอุปราชมหาชัยศีติสาร รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา จาก พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง ๒๕๒๐ รวมเวลา ๖๓ ปี ได้มีนายอำเภอดำรงตำแหน่งถึง ๒๕ นาย จนถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๐ พะเยาได้รับการยกฐานะจากอำเภอขึ้นเป็นจ.พะเยา นับเป็นจังหวัดที่ ๗๒ ของประเทศไทยในขณะนั้น และเป็นจังหวัดตราบเท่าทุกวันนี้
อาณาเขต
จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร ตอนเหนือมีพื้นที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดน่าน ส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดลำปาง และทางด้านใต้ติดกับจังหวัดแพร่
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
จังหวัดแพร่ |
|
|
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม |
จังหวัดแพร่
จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตเป็นแหล่งไม้สักที่สำคัญของประเทศ มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบมีทิวเขาล้อมรอบ
ประวัติความเป็นมา
เมืองแพร่ เมืองแพร่เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาลแต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างขึ้น ในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้างเมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองจารึกไว้ในที่ใดๆ โดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อยจากการศึกษาค้นคว้า และตรวจสอบหลักฐานจากตำนานเมืองเหนือพงศาวดารโยนกและศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูนพะเยา น่านเมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า “พลนคร” หรือ “เมืองพล”ดังปรากฏในตำนานสร้างพระธาตุลำปางหลวง ว่า“เบื้องหน้าแต่นั้นนานมา ยังมีพระยาสามนตราชองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติในพลรัฐนครอันมีในที่ใกล้กันกับลัมภกัปปะนคร (ลำปาง) นี่ ทราบว่าสรีรพระธาตุพระพุทธเจ้ามีในลัมภกัปปะนครก็ปรารถนาจะใคร่ได้”ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. ๑๔๗๐-๑๕๖๐ นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา ได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็นหริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือ นครโกศัยชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า “เมืองพล” และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น “แพร่” ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า “แป้”
อาณาเขต
สภาพทางภูมิศาสตร์
[แก้]สภาพทั่วไป
จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งเหนือที่ 14.70 ถึง 18.44 องศา กับเส้นแวงที่ 99.58 ถึง 100.32 องศา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 155 เมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 11 และ 101 ประมาณ 555 กิโลเมตร และทางรถไฟ 550 กิโลเมตร (ถึงสถานีรถไฟเด่นชัย) มีเนื้อที่ประมาณ 6,538.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,086,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.27 ของพื้นที่ประเทศ จัดเป็นพื้นที่จังหวัดขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 59 กิโลเมตร (วัดจากตะวันออกสุดของอำเภอเมืองตะวันตกสุดของอำเภอลอง ) มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร (วัดจากเหนือสุดของอำเภอสอง ใต้สุดของอำเภอวังชิ้น ) ปัจจุบัน ที่ตั้งของจังหวัดแพร่นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือที่ติดต่อไปยังจังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ จึงเรียกได้ว่าจังหวัดแพร่เป็น ประตูสู่ล้านนา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
-
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกยมหิน (Chukrasia tabularis)
-
ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นยมหิน (Chukrasia tabularis)
-
คำขวัญประจำจังหวัด: หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
-
วิสัยทัศน์จังหวัดแพร่: เมืองแพร่น่าอยู่ ประตูสู่ล้านนา เศรษฐกิจก้าวหน้า ประชาเป็นสุข
จังหวัดน่าน |
|
|
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง |
จังหวัดน่าน
จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้สถาปนาความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่น้องกับ หลวงพระบาง ของประเทศลาว และเชียงรุ่ง ของประเทศจีน
ประวัติศาสตร์
มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ
[แก้] สมัยเมืองล่าง-วรนคร
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัยประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย (มวลสารจากพระธาตุเขาน้อยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง (มวลสารจากพระธาตุแช่แห้งใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
[แก้] สมัยล้านนา
ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344
[แก้] สมัยรัตนโกสินทร์
ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้นเจ้าอัตถวรปัญโญก็ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียวเนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านพร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่านในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่านต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุนและทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่านเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่าง ๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงรายและเมืองหลวงพระบาง
ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลังในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำมีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่าง ๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ. 2474 เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่านจนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่านได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจนกระทั่งปัจจุบัน
อาณาเขต
นอกจากนี้แล้วจังหวัดน่านยังมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น จุดผ่านแดนถาวรสากลห้วยโก๋น-น้ำเงิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน อำเภอสองแคว และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง
จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีภูเข้ในเขตอำเภอบ่อเกลือ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด คือมีความสูงถึง 2,079 เมตร[3] และมีดอยภูคาในเขตอำเภอปัว เป็นยอดเขาที่สำคัญจังหวัด มีความสูง 1,980 เมตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด และตามลุ่มน้ำต่างๆ แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดคือแม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง ลำน้ำแหง เป็นต้น มีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
ภูมิอากาศ
มีลักษณะอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนแบบ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยมีความแตกต่างของฤดูอย่างชัดเจน
-
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อากาศร้อนถึงร้อนจัด (สถิติอุณภูมิสูงสุด 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2502)
-
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน มีฝนตกชุก จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
-
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวถึงหนาวจัด จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (สถิติอุณภูมิต่ำสุด 2.7 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542)
จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
|
|
หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า
ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม
ลือนามถิ่นบัวตอง |
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ
แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก)
แม่ฮ่องสอน ถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2417 โดยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่ เจ้าเมืองประเทศราชแห่งสยามประเทศ
ประวัติศาสตร์
แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง คงมีแต่ชาวไทยใหญ่จากชายแดนพม่าเข้ามาอยู่อาศัย ทำมาหากินบ้างเป็นบางฤดู ความสำคัญในสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่า ที่เดินทางเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีประวัติความเป็นมายาวนานมาก ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในภูมิภาคแถบนี้ได้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่า การตั้งถิ่นฐานและลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแต่ละอำเภอ มักจะคาบเกี่ยวกันหลายอำเภอคือกลุ่มอำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมือง ฯ และอำเภอขุนยวม กับกลุ่มอำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อยและอำเภอสบเมย
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการสำรวจถ้ำผีแมนและรอบ ๆ ถ้ำในเขตอำเภอปางมะผ้า พบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือหินเช่น เครื่องมือหินขัดเป็นขวานหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีอายุประมาณ 8,600 ปีมาแล้ว และได้พบเมล็ดพืชที่ใช้เป็นอาหารมากมายหลายชนิด เช่น เมล็ดน้ำเต้า แตงกวา และพืชตระกูลถั่วฝักยาว พบว่ามีอายุเก่าแก่กว่า 12,000 ปีมาแล้ว ทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้มีมนุษย์อาศัยอยู่มาแต่สมัยหินเก่า นอกจากนี้ยังค้นพบเศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะและขวานหินที่มีอายุประมาณ 4,000 - 8,000 ปีมาแล้ว เป็นจำนวนมาก
สำหรับสิ่งที่เรียกว่า โลงผีแมนนั้น นักโบราณคดียังไม่สามารถหาหลักฐานยืนยันได้ว่า สร้างขึ้นจากมนุษย์ในยุคสมัยใด ด้วยวัตถุประสงค์ใด แต่สันนิษฐานว่าใช้สำหรับบรรจุศพ เพราะโลงทำขึ้นโดยการขุดเจาะท่อนไม้ซุง ลักษณะคล้ายเรือหัวตัด กว้างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตร
ในเขตอำเภอเมือง ฯ ได้ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีบริเวณตำบลหมอกจำแป่ 19 แห่งตำบลปางหมู่ 7 แห่ง ตำบลห้วยโป่ง 3 แห่ง และตำบลผาบ่อง 2 แห่ง หลักฐานที่พบมากที่สุดบริเวณดอยป่าหวาย บนฝั่วตะวันออกของลำน้ำแม่สะงา บ้านแม่สะงา ตำบลหมอกจำแป่ เป็นหลักฐานเกี่ยวกับขวานหินกะเทาะ เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน เป็นต้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคหินเก่า ซึ่งมีอายุประมาณ 7,000 - 4,500 ปี มาแล้ว สมัยนั้นยังไม่มีการเพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ มีการยังชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์หรือเก็บพืชที่เป็นอาหารจากป่าตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามถ้ำต่าง ๆ ต่อมาเริ่มพัฒนาขึ้น โดยมีการขัดถูเครื่องมือเครื่องใช้ให้คมเรียบสวยขึ้น พบขวานหินขัดและหินลับในบริเวณเดียวกัน รู้จักการเพาะปลูกพืชเป็นอาหาร โดยพบเครื่องมือหินเจาะรู ซึ่งเมื่อนำไม้ปลายแหลมมาเสียบให้ถ่วงน้ำหนักไม้แล้วเจาะรูบนพื้นดิน สำหรับหยอดเมล็ดพืชตามริมฝั่งแม่น้ำหรือเชิงเนินเขา
ต่อจากช่วงนี้ก็ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของยุคสมัย ตามพัฒนาการแห่งกาลเวลา หลักฐานที่พบในบริเวณเดียวกัน กลับกลายเป็นชิ้นส่วนภาชนะดินเผา แหล่งเตาเวียงกาหลง ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าอยู่ในช่วงสมัยอาณาจักรล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 - 22
การตั้งถิ่นฐาน หลังจากยุคหินผ่านไปแล้วขาดช่วงไปนาน ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า การตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นไปอย่างไร จนประมาณปี พ.ศ.1860 ตามหลักฐานเรื่องราวอื่นที่คาดคะเนได้ ประวัติตำนานต่าง ๆ และคำบอกเล่าสืบต่อกันมา สรุปได้ว่า การตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากการอพยพเข้ามาของคนต่างถิ่นในบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะชาวไทยใหญ่ จากรัฐฉานของพม่า จะเห็นได้จากเรื่องราวในพงศาวดารโยนก กล่าวถึงเมืองปายและเมืองยาวใต้ว่า เมืองปายเเดิมเรียกว่า บ้านดอน ชาวพม่าชื่อพะก่าซอ ได้พาผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และทำให้บ้านดอนเป็นเมืองที่มั่นคงแข็งแรง ส่วนการตั้งถิ่นฐานบริเวณอื่น บริเวณที่เป็นอำเภอปายในปัจจุบัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าบ้านน้ำฮู ตำบลเวียงใต้ ก่อตั้งมาประมาณ 300 ปี มาแล้ว เจ้าฟ้าเมืองปายในสมัยนั้นได้เรียกชาวบ้านจ๋าม จากรัฐฉาน เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านน้ำฮู และมอบนาให้เป็นที่ทำกิน
การขยายตัวของหมู่บ้านต่าง ๆ เริ่มแรกออกไปทำไร่ทำสวนก่อนเมื่อมีจำนวนมากขึ้น ก็จะอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานได้มั่นคงแล้ว ผู้ปกครองเมืองจึงจัดระบบการบ้านเมืองให้เป็นรูปแบบเมืองหน้าด่าน โดยยกเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองหน้าด่าน ในปี พ.ศ.2417 มีขุนยวม เมืองปาย เป็นเขตแดน เมืองยวมเป็นเมืองรอง ให้มีเจ้าฟ้าปกครองเมือง และจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของเชียงใหม่ เรียกว่า บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก ต่อมาเปลี่ยนเป็นบริเวณพายัพเหนือ และสุดท้ายเปลี่ยนเป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในยุคนี้ ไม่มีหลักฐานด้านเอกสารบันทึกไว้ คงได้จากหลักฐานทางโบราณคดี ที่ขุดค้นได้จากที่อยู่ในอำเภอเมือง ฯ และอำเภอขุนยวม ซึ่งบ่งบอกว่าในสมัยนั้นผู้คนในแถบนี้ เป็นมนุษย์ยุคหินประมาณ 7,000 - 4,500 ปีมาแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ต้องอาศัยธรรมชาติโดยตรง ต่อมาอีกระยะหนึ่งได้มีการพัฒนาสภาพการเป็นอยู่มากขึ้น โดยรู้จักทำอาวุธสำหรับล่าสัตว์ เช่น เครื่องมือหินลับ หินขัดหลายชนิด ยุคนี้ผ่านไปโดยไม่สามารถทราบเรื่องราวที่ต่อเนื่อง
ยุคสร้างบ้านแปงเมือง ยุคนี้เริ่มมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษาค้นคว้าบ้าง เช่น พงศาวดารโยนก และประวัติบุคคล พอสรุปประวัติความเป็นมาของจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ว่า เมืองปายเดิมเรียกว่า บ้านดอน เพราะตั้งอยู่บนที่ดอน มีแม่น้ำสองสายไหลผ่าน คือแม่น้ำปายและแม่น้ำเมือง เป็นบริเวณที่ชาวพม่าชื่อ พะก่าซอ เคยมาตั้งทัพเพื่อหาโอกาสเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ พะก่าซอได้พัฒนาบ้านเมืองจนเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ต่อมาในสมัยพระเจ้าไชยสงคราม (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19) ได้นำทัพมาตีหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ และได้รับแต่งตั้งให้ปกครองบ้านดอนในเวลาต่อมา ส่วนเมืองยวมใต้ เป็นเมืองหน้าด่านของเชียงใหม่ ที่จะคอยป้องกันการรุกรานของพม่า
เมื่อประมาณปี พ.ศ.1944 กษัตริย์เชียงใหม่คือ พระเจ้าสามฝั่งแกน ได้เนรเทศเจ้าท้าวลกราชบุตร องค์ที่ 6 ที่ถูกใส่ความไปครองเมืองพร้าววังหิน ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดาร ต่อมาถูกใส่ความอีก ถึงถูกเนรเทศให้ไปครองเมืองยวมใต้ จนถึงปี พ.ศ.1985 ได้กลับไปแย่งชิงราชสมบัติได้สำเร็จ สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์พระนาม พระเจ้าติโลกราช
หลังจากนั้นเมืองยวมใต้ ก็เป็นเมืองหน้าด่านของเชียงใหม่ ที่จะคอยปกป้องการรุกรานของพม่าอีกหลายสมัย จนกระทั่งพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2374 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าโหตรประเทศราชาธิบดี (พระยาเชียงใหม่มหาวงศ์) ได้ให้เจ้าแก้วเมืองมา ออกจับช้างป่าไปใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาได้เดินทางมาทางเมืองปาย พบพื้นที่แห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำปาย เป็นบริเวณที่หมูป่ามาหากินเป็นจำนวนมาก เห็นว่าเป็นทำเลดี เหมาะที่จะตั้งเป็นบ้านเมือง จึงได้รวบรวมชาวบ้านซึ่งเป็นคนไต (ไทยใหญ่) มาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน แล้วแต่งตั้งชาวไตชื่อ พะก่าหม่อง เป็นหัวหน้าปกครองหมู่บ้าน ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านโป่งหมู ต่อมาเพี้ยนเป็น ป๋างหมู หรือบ้านปางหมู อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนปัจจุบันไปทางเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร
เมื่อจัดตั้งหมู่บ้านเสร็จแล้ว เจ้าแก้วเมืองมาได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ จนถึงลำห้วยแห่งหนึ่ง มีชาวไทยใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้ว จึงตั้งคอกฝึกช้างป่า ณ บริเวณนั้น และได้มอบหมายให้แสนโกม บุตรเขยพะก่าหม่อง ออกไปชักชวนชาวไทยใหญ่ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน แต่งตั้งแสนโกมเป็น ผู้ปกครองหมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า แม่ฮ่องสอน (แม่คือ แม่น้ำ ฮ่อง คือ ร่องน้ำ สอนคือ เรียน) หมายถึง ร่องน้ำอันเป็นสถานที่ฝึกสอนช้างป่า
ต่อมาในปี พ.ศ.2399 ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ได้เกิดการสู้รบกันในหมู่บ้านไทยใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคง (แม่น้ำสาละวิน) ทำให้ชาวไทยใหญ่ในเขตพม่าพากันอพยพข้ามฝั่งแม่น้ำคง เข้ามาอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ เช่น บ้านปางหมู บ้านแม่ฮ่องสอน บ้านขุนยวม และเมืองปาย
ในการอพยพม่าครั้งนี้มีชาวไทยใหญ่ผู้หนึ่งชื่อ ชานกะเล ซึ่งตามตำนานได้กล่าวว่า เป็นทหารเอก ของเจ้าฟ้าโกหร่าน เจ้าฟ้าไทยใหญ่ผู้ปกครองนครหมอกใหม่ เจ้าฟ้าโกหร่านต้องการให้ชานกะเล ยกทัพไปตีเมืองแสนหวี เมืองเชียงรุ้ง และเมืองเชียงของ หากชนะกลับมาจะแต่งตั้งให้เป็นมหาอุปราช แต่ชานกะเลเห็นว่าทั้งสามเมืองเป็นชาวไทยใหญ่ด้วยกัน จึงทัดทานไว้แต่ไม่เป็นผล เขาจึงหลบหนีไปจากเมืองหมอกใหม่และได้เดินทางมาถึงบริเวณวัดผาอ่างปัจจุบัน ขณะนั่งพักได้ถูกเสือโคร่งเข้าตะครุบ แต่บังเอิญลูกสาวพระก่าหม่องชื่อคำใสได้ช่วยไว้ทัน จากนั้นได้พากันไปอาศัยอยู่ที่บ้านโป่งหมู ของพระก่าหม่อง ต่อมาพระก่าหม่องได้ยกนางคำใสให้เป็นภรรยา โดยที่ไม่ทราบว่าชานกะเลมีคนรักอยู่แล้วคือเจ้านางเมวดี หลานของเจ้าฟ้าโกหร่าน
ในปี พ.ศ.2409 ได้เกิดการสู้รบระหว่างเจ้าฟ้าเมืองนายกับเจ้าฟ้าโกหร่าน เจ้าฟ้าโกหร่านสู้ไม่ได้จึงหนีมาอยู่ที่เมืองปายพร้อมกับเจ้านางเมวดี ต่อมาได้คบคิดกับอัศวินชาวเขา เพื่อไปตีเมืองเชียงใหม่ โดยมีข้อตกลงว่าจะยกเจ้านางเมวดีให้ เมื่อชานกะเลทราบข่าว จึงรับไปยังเมืองปาย แล้วออกอุบายขออาสาไปตีเมืองเชียงใหม่แทน และขอประลองฝีมือกับทหารเอกของเจ้าฟ้าโกหร่าน จนสามารถฆ่าทหารเอกตายไปสองคน แล้วได้ทัดทานไม่ให้เจ้าฟ้าโกหร่านไปตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้าโกหร่านรู้ทันจึกโกรธมาก หาโอกาสเข้าท่ารายชานทะเล แต่นางคำใสมาพบเข้าพอดี จึงเอาตัวเข้าขวางจึงถูกมีดของเจ้าฟ้าโกหร่านปักอกตาย ชานกะเลได้รู้ซึ้งในน้ำใจของคำใส และเพื่อทดแทนน้ำใจของนางเขา จึงไม่กลับไปยังเมืองหมอกใหม่จึงได้พาเจ้านางเมวดีคืนสู่บ้านโป่งหมู แล้วอพยพครอบครัวไปสร้างบ้านที่ขุนยวม โดยรวบรวมชาวไทยใหญ่และกะเหรี่ยงมาอยู่รวมกันตั้งเป็นหมู่บ้าน
ในปี พ.ศ.2416 เจ้าบุรีรัตน์ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระเจ้ากาวิโลรส ได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าอินทวิชยานนท์ และได้เรียกตัวชานกะเลเข้าเฝ้า และได้แต่งตั้งให้เป็นพญาสิงหนาท พ่อเมืองขุนยวมคนแรก เมื่อปี พ.ศ.2417 พญาสิงหนาทได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ขุนยวม จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพญาสิงหนาทราชา ให้ปกครองเมืองแม่ฮ่องสอน ยกฐานะเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นเมืองหน้าด่าน มีเมืองขุนยวม และเมืองปายเป็นเขตแดน เมืองยวมได้แบ่งเป็นเมืองรอง
พญาสิงหราชราชา ได้พัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอนให้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมีการขุดคูเมือง และสร้างประตูเมืองขึ้นอย่างมั่นคง เขาถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.2427 ทางเจ้าผู้ครองเชียงใหม่ได้แต่งตั้งเจ้านางเมวดีขึ้นปกครองแทน ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า เจ้านางเมี๊ยะ
พ.ศ.2434 เจ้านางเมี๊ยะถึงแก่กรรม เจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่จึงได้แต่งตั้งพญาเสมาราชานุรักษ์ เป็นพญาพิทักษ์สยามเขต ให้ปกครองเมืองแม่ฮ่องสอนต่อมา
พ.ศ.2443 ได้มีการจัดระบบการปกครองใหม่โดยได้รวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม เมืองปาย และเมืองยวน (แม่สะเรียง) เป็นหน่วยเดียวกัน เรียกว่า บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองขุนยวม โดยแต่งตั้งนายโหมดเป็นนายแขวง และในปีเดียวกันทางเมืองเชียงใหม่ได้แต่งตั้งขุนหลู่ บุตรพญาพิทักษ์สยามเขตเป็นพญาพิทักษ์ฮ่องสอนบุรี
พ.ศ.2446 ได้ย้ายที่ว่าการแขวงจากเมืองขุนยวมไปตั้งที่เมืองยวมแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นบริเวณพายัพเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ.2450 พญาพิทักษ์สยามเขตถึงแก่กรรม ทางเมืองเชียงใหม่จึงแต่งตั้งพญาฮ่องสอนบุรีขึ้นปกครองแทน
พ.ศ.2453 ได้มีการตั้งเมืองจัตวาขึ้นกับมณฑลพายัพ ย้ายที่ตั้งแขวงจากเมืองยวมมาตั้งที่แม่ฮ่องสอนให้ชื่อว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระศรสุรราช (เปลื้อง) มาปกครองเมืองแม่ฮ่องสอนนับว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนคนแรก
ระหว่าง พ.ศ.2484 - 2488 ทหารญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านประเทศไทยไปประเทศพม่า ได้เข้ามาเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทางบ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม เมื่อปี พ.ศ.2484 ต่อมาในปี พ.ศ.2487 ทหารญี่ปุ่นได้ทะยอยกลับเข้ามาตั้งค่ายอยู่ในเขตอำเภอขุนยวมเป็นจำนวนมาก โดยได้ตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่บริเวณลำห้วยหนองป่ากอ อยู่ห่างจากบ้านขุนยวมไปทางเหนือประมาณ 2 กิโลเมตรมีเต้นท์ที่พักประมาณ 1,000 เต้นท์ ทหารญี่ปุ่นที่บาดเจ็บ ได้นำมารักษาที่หน่วยพยาบาลวัดบ่ายต่อ ทหารญี่ปุ่นได้ถอยทัพกลับมาจากประเทศพม่าประมาณหนึ่งแสนคน และได้เจ็บป่วยล้มตายไปไม่น้อยกว่าเจ็ดพันคน
เมื่อสงครามยุติลงทหารญี่ปุ่นได้เดินทางกลับไปทางอำเภอเมือง ฯ อีกส่วนหนึ่งกลับไปทางบ้านปางอุ๋ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
อาณาเขต
พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตโดยรอบ ดังนี้
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
-
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวตอง (Tithonia diversifolia)
-
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระพี้จั่น (Millettia brandisiana)
-
คำขวัญประจำจังหวัด: หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง